ศิลปะของอาณาจักทวารวดี
ศิลปกรรมประติมากรรมระยะแรกเลียนแบบศิลปะอินเดีย
ต่อมาจึงดัดแปลงเป็นฝีมือช่างพื้นเมือง ส่วนใหญ่เป็นศิลาจำหลักและลายปูนปั้น มีทั้งพระพุทธรูป
เสมาธรรมจักร รอยพระพุทธบาท พระพิมพ์ และลายปูนปั้นแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ส่วนอาคารสร้างด้วยอิฐนาดใหญ่
และศิลาแลงประดับลายปูนปั้น ชาวทวารวดีเป็นพุทธมามกะที่เคร่งครัด มีการสร้างพระพุทธรูปเพื่อการเคารพบูชาเป็นจำนวนมาก
ลักษณะพระพุทธรูปสมัยนี้ คือรูปร่างองค์พระสะโอดสะองพระอังสะใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก จีวรบางแนบติดองค์
พระพักตร์แบนบ่งความเป็นท้องถิ่น คือขมวดพระเกศาใหญ่ พระพักตร์กว้าง พระขนงโค้งติดกันเป็นรูปปีกกา
พระเนตรโปน พระนาสิกค่อนข้างแบน พระโอษฐ์หนา พระพุทธรูปมักเป็นท่าประทับยืนตรง พระหัตถ์มักอยู่ในกิริยาแสดงธรรมทั้งสองพระหัตถ์
แบบประทับนั่งสมาธิและแบบนั่งห้อยพระบาททั้งสองข้างคล้ายนั่งเก้าอี้ ส่วนใหญ่มักสร้างด้วยศิลา
มีชิน (หมายถึง โลหะเจือชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยตะกั่วและดีบุก นิยมใช้ทำพระเครื่อง)
บ้างก็มีแต่องค์เล็ก นอกนั้นที่พบมักเป็นรูปธรรมจักรมีกวางหมอบอยู่ข้างล่างด้านหน้า
พระพุทธรูป มีทั้งสลักจากหินทำด้วยดินเผา และหล่อด้วยสำริด สมัยแรกทำตามอย่างอินเดียอย่างมาก
ต่อมาผสมผสานอิทธิพลพื้นเมืองจนเป็นแบบเฉพาะของทวารวดี ธรรมจักรและกวางหมอบ สลักจากหิน
แสดงถึงปฐมเทศนาพระพิมพ์ พบมากเช่นกัน สร้างขึ้นเพื่อสืบอายุพระศาสนา พบคล้ายคลึงกันในเมืองโบราณทุกแห่ง
ทุกภาคของประเทศ ประติมากรรมสมัยนี้ได้รับอิทธิพลอินเดียสมัยคุปตะ ซึ่งเจริญแพร่หลายทางภาคกลางและตะวันตกของอินเดียระหว่างพุทธศตวรรษที่
10-11 จนถึงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-13 ซึ่งสมัยคุปตะเป็นสมัยที่เจริญสูงสุด
เรียกว่า คลาสสิกของอินเดีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น