การเมืองการปกครองของอาณาจักรทวารวดี
การปกรองแบ่งเป็นแคว้นๆ
แต่ละกลุ่มจะมีเจ้านายหรือหัวหน้าปกครอง เป็นระบบเครือญาติที่เป็นพันธมิตร ตามลักษณะการปกครองแบบนครรัฐ
กษัตริย์เมืองใดมีอาวุโสก็จะได้รับการยอมรับให้เป็นผู้นำ การจัดการการปกครองของอาณาจักรทวารวดี
แต่ละเมืองจะมีหัวหน้าปกครองซึ่งอาจเป็นกษัตริย์หรือมีฐานะเทียบเท่า ในสังคมมีการแบ่งชนชั้น
เช่น กษัตริย์และบรมวงศานุวงศ์ขุนนาง พ่อค้า ช่างฝีมือ และชาวนา มีเมืองต่างๆ ขึ้นอยู่กับอาณาจักรทวารวดีได้แก่
เมืองคูเมือง(สิงห์บุรี) เมืองจันทเสนและโคกไม้เดน (นครสวรรค์) เมืองหนองแซง (สระบุรี)
ดงพระศรีมหาโพธิ์หรือเมืองศรีวัตสะปุระ (ปราจีนบุรี)
เมืองศรีเทพและเขาถมอรัตน์ (เพชรบูรณ์)
เมืองคูบัว (ราชบุรี)เมืองฟ้าแดดสูงยาง
(กาฬสินธุ์) ศูนย์กลางการปกครองของแคว้นอยู่ที่ภาคกลางอาจเป็นเมืองนครปฐมหรือเมืองอู่ทอง
เพราะเหรียญเงินและแผ่นทองแดงที่พบที่นครปฐมมีจารึกการอุทิศถวาย
พระราชกุศลแก่พระราชาแห่งทวารวดีแสดงถึงอาณาจักรทวารวดีมีกษัตริย์ปกครอง
และมีโบราณสถานในจังหวัดนครปฐมหลายแห่ง เช่นที่วัดพระปฐมเจดีย์ วัดพระประโทณวัดพระเมรุ
วัดธรรมศาลา วัดดอนยายหอม รวมทั้งโบราณวัตถุ พระพุทธรูปสมัยทวารวดีอีกมากมาย รวมทั้งเสมาธรรมจักรและกวางหมอบ
ส่วนที่สันนิษฐานว่าเมืองอู่ทองอาจเป็นศูนย์กลางอาณาจักรทวารวดีอีกด้วย เพราะพบจารึกบนแผ่นทองแดงและเหรียญเงิน
เช่นกัน ตลอดจนมีโบราณวัตถุทางการค้า เช่น ถ้วยชามเครื่องประดับทำจากเงิน ทอง สำริด
เหรียญกษาปณ์เช่นกัน และยังพบซากตัวเมืองโบราณขนาดใหญ่มาก มีปราสาทราชวัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น