วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ปก

 รายงาน

เรื่อง
อาณาจักรทาวราวดี

เสนอ
อาจารย์ ศุภสัณห์ แก้วสำราญ

จัดทำ
นางสาวพรรณิกา เวลเดส
เลขที่ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2


รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา  การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต รหัสวิชา ง30204

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556


โรงเรียนเมืองกระบี่

คำนำ

คำนำ

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของ รายวิชา การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต รหัสวิชา ง30204ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาความรู้ที่ได้จากเรื่อง เนื้อหาของรายงานสัมมนาฉบับนี้กล่าวถึง ประวัติความเป็นมาของอาณาจักรทาวราวดี แนวคิดทฤษฏีการเกิดเป็นอาณาจักรทาวราวดี เศรษฐกิจลักษณะทางสังคมความเป็นอยู่ของชาวทาวราวดี การปกครอง ศิลปะ สถาปัตยกรรม วัฒนธรรมที่ยังคงมีร่องรอยเหลืออยู่ในปัจจุบัน การแต่งกาย การเสื่อมสลายของอาณาจักร ในยุคสมัยนั้นว่าเป็นอย่างไรบ้างผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อนี้ในการทำรายงาน เนื่องมาจากเป็นเรื่องที่น่าสนใจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา เป็นความรู้แก่ผู้ที่สนใจทุกท่าน   รายงานฉบับนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไม่ได้รับการมอบหมายจากอาจารย์ศุภสัณห์ แก้วสำราญ ที่ได้ให้นักศึกษาชั้นปีที่6 มีการจัดทำรายงานขึ้นมาคนละหนึ่งเรื่อง โดยให้นักศึกษานั้นได้เลือกทำรายงานในเรื่องที่ตนเองมีความสนใจอยู่รวมถึงคำชี้แนะต่างๆทั้งในเรื่องเนื้อหาของรายงาน การสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลรวมถึงการจัดรูปแบบและรูปเล่มในการจัดทำรายงานเล่มนี้นี้
ทางผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านที่มีความสนใจและต้องการศึกษาค้นคว้า ตลอดจนเป็นการเพิ่มพูนความรู้ในเรื่องดังกล่าวได้ไม่มากก็น้อย





.. พรรณิกา  เวลเดส

ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมาของการเกิดอาณาจักรทวารวดี
อาณาจักรทวารวดี มีศูนย์กลางอยู่ที่ใดไม่ปรากฏชัด สันนิษฐานว่า อาจอยู่ที่นครปฐมราชบุรี หรือสุพรรณบุรี เพราะทั้ง 3 แห่งนี้มีร่องรอย เมืองโบราณ ศิลปวัตถุ และโบราณสถานแบบทวารวดีเหมือนๆ กัน ศิลปวัฒนธรรมของทวารวดีส่วนใหญ่เป็นไปในทางพระพุทธศาสนาซึ่งจดหมายเหตุจีนได้ระบุว่า อาณาจักรทวารวดีนี้มีวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างสูงมีความเจริญทางด้านการค้ามาก นอกจากนี้ ตำนานมูลศาสนา และตำนานจามเทวีวงศ์ซึ่งเป็นหลักฐานของไทยก็กล่าวถึงความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรทวารวดีไว้เช่นกัน

 


อาณาจักรทวารวดี เจริญรุ่งเรืองขึ้นในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 และได้แผ่อิทธิพลทางวัฒนธรรมที่รับมาจากอินเดียไปทั่วทุกภาคของประเทศโดยเฉพาะความเชื่อทางพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท คำว่า ทวารวดี ปรากฏในบันทึกการเดินทางของภิกษุจีนรูปหนึ่ง และได้เทียบคำว่า อาณาจักร โต-โล-โป-ตี้ หรือ ตว้อ-หลอ-ปอ-ตี้ ตามสำเนียงจีน ว่า ตรงกับคำว่า อาณาจักร ท-วา---ดี บันทึกการเดินทางของภิกษุจีน ซึ่งบันทึกไว้ราวพุทธศตวรรษที่ 13 หรือเมื่อประมาณ 1,300 ปีมาแล้ว กล่าวว่า เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ระหว่างอาณาจักรศรีเกษตร(ปัจจุบันอยู่ในประเทศพม่า)และอาณาจักรอิศานปุระ อยู่ในประเทศกัมพูชา ดังนั้นอาณาจักรทวารวดีจึงตั้งอยู่ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบันจากการศึกษาของนักประวัติศาสตร์เชื่อว่าประชาชนของทวารวดีเป็นชาวมอญ อพยพมาจากแถบตะวันตกของจีนลงมาทางใต้ตามลำน้ำโขงและแม่น้ำสาละวิน เข้าสู่พม่าตอนล่าง และดินแดนลุ่มน้ำเจ้าพระยา 

หลักฐานแสดงความเป็นมา

หลักฐานแสดงความเป็นมาของอาณาจักรทวารวดี


การศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการในสมัยต่อมาต่างก็ยอมรับว่า ในดินแดนประเทศไทยมีอาณาจักรทวารวดีเมื่อได้พบเหรียญเงิน 2 เหรียญที่โบราณสถานเนินหิน ใกล้วัดพระประโทนจังหวัดนครปฐมเมื่อ พ..2486เหรียญเงินทั้งสองนั้น ด้านหนึ่งมีข้อความจารึกเป็นภาษาสันสกฤตอ่านได้ว่าศรีทวารวดี ศวรปุณยะ ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า บุญของผู้เป็นเจ้าแห่งทวารวดี จึงเป็นสิ่งย้ำว่า อาณาจักรทวารวดีนั้นมีอยู่จริง หลังจากนั้นได้พบเหรียญที่มีจารึกแบบเดียวกันนี้อีก เหรียญที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีและที่เมืองโบราณบ้านคูเมือง อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี แห่งละเหรียญ 





อาณาเขตและที่ตั้งศูนย์กลาง

อาณาเขตและที่ตั้งศูนย์กลางอาณาจักรทวารวดี

สันนิษฐานว่า ศูนย์กลางของมอญคือเมืองสะเทิมหรือสุธรรมวดี ตำนานของเผ่าต้องซู่ ซึ่งเป็นกะเหรี่ยงพวกหนึ่งเขียนไว้ว่าสะเทิมเป็นเมืองโบราณของต้องซู่ คำว่า สะเทิม มาจากคำว่า สะทูในภาษาต้องซู่ แปลว่า ศิลาแลงเพราะมีศิลาชนิดนี้มากที่ภูเขาใกล้เมืองสะทู แต่ตำนานเขียนเพี้ยนเป็นสะเทิมอาณาจักรทวารวดีมีอาณาเขตและที่ตั้ง ตั้งแต่บริเวณเมืองสะเทิมในพม่า มาถึงประเทศไทยปัจจุบันคือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือที่ลำพูนในปัจจุบันศูนย์กลางของอาณาจักร ในระยะแรกสันนิษฐานว่าตั้งอยู่ที่เมืองอู่ทองจังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาอาจย้ายไปอยู่ที่เมืองนครปฐม หรือไม่ก็อยู่ที่เมืองคูบัว ในเขตจังหวัดราชบุรีในปัจจุบัน เนื่องจากบริเวณทั้ง 3 แห่ง ดังกล่าว มีร่องรอยเมืองโบราณ ศิลปวัตถุ และโบราณสถานแบบทวารวดีเป็นจำนวนมากเหมือนๆกัน แต่ก็ยังสรุปไม่ได้แน่นอนโดยพิจารณาดังนี้
1.เมืองนครปฐมโบราณ (เมืองพระประโทน หรือเมืองนครชัยศรี ได้รับการสันนิษฐานว่าน่าจะเคยเป็นราชธานีของอาณาจักรทวาราวดีเจริญรุ่งเรืองขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 12 โดยพิจารณาจากการค้นพบเหรียญเงินถึง 2 เหรียญ ที่มีจารึกว่า ศรีทวารวดีศวรปุณยะ ซึ่งแปลว่า บุญของผู้เป็นเจ้าแห่งทวารวดี เมืองนครปฐมโบราณจึงน่าจะมีความสำคัญมากกว่าเมืองอื่นๆ คำว่า ทวารวดี ที่ปรากฏสืบมา อยู่ในสร้อยนามของเมืองหลวงเก่าของไทยในสมัยหลัง เช่น กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา ผังเมืองนครปฐมโบราณที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย การพบจารึกภาษามอญที่เก่าที่สุดโบราณสถาน โบราณวัตถุที่พบอย่างมากมาย และโบราณสถานแต่ละแห่งล้วนมีขนาดใหญ่
2. เมืองอู่ทอง สันนิษฐานว่าเมืองอู่ทอง น่าจะเป็นเมืองหลวงหรือราชธานีอย่างน้อยช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยพิจารณาจากการพบเหรียญเงินที่มีจารึกว่า ศรีทวารวดี ศวรปุณยะ จำนวน 2เหรียญ ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นแห่งเดียวที่พบจารึกกล่าวถึงพระนามกษัตริย์ คือ พระเจ้าหรรษวรมัน จารึกอยู่บนแผ่นทองแดง กำหนดอายุจากตัวอักษรประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-14 เมืองอู่ทองจึงน่าจะเป็นเมืองหลวงของกษัตริย์พระองค์นี้โบราณสถานโบราณวัตถุภายในเมืองและบริเวณใกล้เคียงที่พบอย่างหนาแน่น โดยเฉพาะโบราณวัตถุสมัยแรกกับอิทธิพลอินเดีย เช่น ลูกปัดรูปแบบต่างๆ เหรียญโบราณ เป็นเมืองที่มีความเจริญมานานไม่ขาดสาย ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศึาสตร์ และเจริญสืบเนื่องต่อกันมาถึงสมัยฟูนัน พุทธศตวรรษที่ 6-9 อาจเป็นเมืองหลวงของฟูนันด้วยจนถึงสมัยทวาราวดี

3. เมืองลพบุรี โดยพิจารณาจากเหรียญเงินมีจารึกเป็นภาษาสันสกฤตว่า ลวปุระ (หรือละโว้ ชื่อเดิมของเมืองลพบุรี) ที่เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พบโบราณสถานโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก




แนวคิดและทฤษฎี

แนวคิดและทฤษฎีของการเกิดอาณาจักรทวารวดี

ทฤษฎีทวารวดีเป็นอาณาจักร และมีเมืองเป็นศูนย์กลางนักวิชาการที่เชื่อในทฤษฎีนี้เชื่อว่าทวารวดีมีรูปแบบการปกครองเป็นอาณาจักรและมีเมืองในภาคกลาง หรือบริเวณลุ่มแม่น้ำพระยาตอนล่าง เป็นศูนย์กลางอำนาจ อาจเป็นเมืองนครปฐมโบราณ หรือเมืองอู่ทอง ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี หรือเมืองลพบุรี ทฤษฎีทวารวดีเป็นกลุ่มเมืองหรือรัฐอิสระไม่ขึ้นต่อกันจากการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีในระยะหลัง นักโบราณคดีได้พบเมืองสมัยทวาราวดีมากขึ้น เรื่อยๆ และยังพบกระจายอยู่ตามภาคต่างๆ ของประเทศไทย ดังนั้นจึงเกิดคำถามต่อมาว่า แสนยานุภาพของอาณาจักรทวารวดีจะมีจริงหรือไม่ ที่จะควบคุมเมืองต่างๆ ทั่วประเทศได้
ปัจจุบันนักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าทวารวดียังไม่มีองค์ประกอบเพียงพอกับการเป็นอาณาจักรใหญ่เพราะว่า

- จากข้อมูลทางโบราณคดี ไม่เคยพบร่องรอยป้อมค่าย ประตูหอรบ หรืออาวุธในการสงครามอย่างที่อาณาจักรควรเป็น
- จากข้อมูลทางเอกสาร ก็ไม่มีการกล่าวถึงการแผ่อำนาจทางการเมืองจากเมืองศูนย์กลางไปครอบคลุมยังเมืองอื่นๆ โดยรอบ รวมทั้งระบบส่วยและบรรณาการ

เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจของอาณาจักรทวารวดี


                ทางการการส่งเสริมด้านสาธารณูปโภค ประชาชนประกอบอาชีพทางการเกษตรเลี้ยงสัตว์ การประมง อีกทั้งยังมีฝีมือด้านงานช่างด้านต่าง ๆ ทำการค้าขายกับต่างชาติ เนื่องจากเป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ ในบริเวณลุ่มแม่น้ำสำคัญเช่นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำกลอง ลุ่มแม่น้ำพรรณบุรี ลุ่มแม่น้ำสัก และการค้าขายกับเมืองใกล้เคียง โดยเฉพาะกับชาวต่างชาติโดยทางทะเล เช่น อินเดีย อาหรับ จีน และคาบสมุทรภาคใต้ ยังมีชาวต่างชาติ เช่น จีนและอินเดีย นำเรือเข้ามาค้าขายและตั้งถิ่นฐานชั่วคราว ผลิตผลที่สำคัญ คือ ข้าว ของป่า และแร่ธาตุ เมืองที่ตั้งอยู่ใกล้ทางน้ำออกทางทะเลได้สะดวกจะเป็นเมืองท่าศูนย์กลางทางการค้าขาย ส่วนเมืองที่อยู่ลึกเข้าไปจะเป็นแหล่งรวบรวมสินค้าเพื่อส่งมายังเมืองท่าอีกทีหนึ่ง