วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ลักษณะสำคัญของวัฒนธรรม

ลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมที่อาณาจักรทวารวดีสร้างขึ้น

มรดกทางวัฒนธรรม ด้านวัฒนธรรมประเพณี และ ความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ได้แก่ การทำบุญในโอกาสต่างๆ การบวช คติความเชื่อเรื่องพระมหากษัตริย์เป็นพระโพธิสัตว์ การสร้างพระพิมพ์และพระพุทธรูป วัฒนธรรมสมัยทวารวดี ได้สร้างความเป็นปึกแผ่นและทำให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการหลอมรวมและผสมผสานความแตกต่างทางวัฒนธรรมของชนแต่ละกลุ่มให้มีแกนกลาง ในการหลอมรวมและผสมผสานความแตกต่างทางวัฒนธรรมของชนแต่ละกลุ่มให้มีวัฒนธรรมเดียวกันคือวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาเช่น ธรรมเนียมการบูชาพระบรมธาตุแพร่หลายมากในสมัยทวารวดี โดยมีหลักฐานจากการสร้างเสมา อันเป็นศิลปะสมัยทวารวดี แสดงการสลักภาพสถูป ซึ่งเป็นสัญลักษณ์การบูชาพระธาตุ การสร้างวัดเป็นศูนย์กลางชุมชน การสร้างเจดีย์โดยใช้อิฐดินเผาเป็นวัสดุก่อสร้างและฉาบด้วยปูนซีเมนต์ นอกจากนั้นศิลปะด้านประติมากรรมยังมีการสืบทอดการสร้างพระพุทธรูป และการทำลวดลายปูนปั้นเป็นรูปคน ยักษ์
และสัตว์ต่างๆ เพื่อประดับตกแต่ง ศาสนาสถานให้ดูสวยงาม วัฒนธรรมที่ยังคงมีร่องรอยเหลืออยู่จนปัจจุบัน
ศิลปะสมัยทวารวดีที่ยังคงเหลือให้เห็นหลายอย่างเช่นพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ในท่าประทับนั่งห้อยพระบาท ศิลาสลักรูปวงล้อมธรรมจักรกับกวางหมอบ ซึ่งหมายถึงพระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี พบที่เมืองนครชัยศรีจังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปปูนปั้นดินเผาและพระพิมพ์ พบที่เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ซากโบราณสถานหลายแห่งที่ เมืองคูบัวจังหวัดราชบุรี พบประติมากรรมดินเผา และปูนปั้นสตรีเล่นดนตรี และลูกปัดที่ทำด้วยแก้ว หิน และดินเผาที่เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีภาชนะดินเผา พบหม้อมีสัน หม้อก้นกลม ชาม ไห ถ้วย หม้อ น้ำพวย และหม้อน้ำขวดผิวเรียบ มีทั้งแบบมีจารึกและไม่มีจารึกบนเหรียญ แต่ทั้งสองแบบ มักมีภาพสัญลักษณ์อันเป็นมงคลต่างๆ เพื่อแสดงถึงอำนาจและความยิ่งใหญ่ของกษัตริย์ หรือเพื่อความอุดมสมบูรณ์แก่พืชพันธุ์ธัญญาหารตามคติอินเดีย เช่น ภาพรูปพระอาทิตย์ รูปบัลลังก์ แสดงถึงความยิ่งใหญ่ ภาพศรีวัตสะ หรือเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ ภาพโคและลูกโค ภาพกวาง ภาพหม้อน้ำแสดงการเพิ่มพูนทางการเกษตร เหรียญ มีจารึกคงผลิตขึ้นใช้เนื่องในโอกาสพิเศษ 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น