วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การแต่งกาย

การแต่งกายของชาวอาณาจักรทวารวดี

จากศึกษาประติมากรรมที่ขุดค้นได้จากแหล่งโบราณคดีทวาราวดีที่สำคัญ เช่น ประติมากรรมปูนปั้นรอบฐานเจดีย์จุลประโทน จังหวัดนครปฐม ประติมากรรมดินเผาที่ประดับรอบฐานโบราณสถานคูบัว จังหวัดราชบุรี และประติมากรรมจำหลักบนใบเสมาที่พบจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทราบว่าบุรุษไว้ผมยาวมุ่นเป็นมวย และมีเครื่องประดับศีรษะ นุ่งผ้ามี 2 แบบ คือ นุ่งผ้ายาวครึ่งน่อง และนุ่งโจงกระเบนแบบโธตี คาดเข็มขัดแบบต่างๆ มีผ้าคล้องไหล่ ลักษณะของผ้าที่ใช้ยังสามารถบอกถึงฐานะคนสมัยนั้นอีกด้วยเช่น พระเจ้าแผ่นดินทรงนุ่งผ้ายกดอก ขุนนางผู้ใหญ่และเจ้านายผ้า ยกดอกห่าง ๆ ถ้าขุนนาง ธรรมดาใช้ผ้ายกดอกสองชาย ส่วนราษฎรสามัญจะใช้ผ้ายกได้เฉพาะผู้หญิงเท่านั้น ส่วนผู้ชายคงใช้ผ้าฝ้ายกับผ้าทอจากปอกระเจา และประดับตกแต่งร่างกายด้วย เครื่องประดับต่างๆ ซึ่งสามารถจำแนกเครื่องประดับของบุรุษแต่ละประเภทดังนี้

บุรุษนิยมไว้ผมยาว แล้วเกล้ามวยไว้ตรงด้านหลังศีรษะบนศีรษะมีการประดับผมทั้งเพื่อความสวยงาม และเพื่อแสดงฐานันดรศักดิ์ แต่มีบางกลุ่มที่ไว้ ผมสั้นแค่คอ และหวีผมแสกกลาง ลักษณะของศิราภรณ์บุรุษ มีตั้งแต่แบบเรียบง่ายไปจนถึงประดิษฐ์เป็นมงกุฎประดับเพชรพลอยด้วยฝีมือช่างชั้น สูงผมทรงสั้นแค่คอ หวีแสกกลาง จับเป็นลอนตลอด น่าจะเป็นทรงผมของพวกนักรบ ดังดูได้จากภาพชาดกที่ประดิษฐานเจดีย์จุลประโทน ผมไว้ยาว มุ่นเป็นมวยไว้ด้านหลังท้ายทอย มักเป็นทรงผมของพราหมณ์ ผมไว้ยาว มุ่นเป็นมวยไว้บนกระหม่อมกลางศีรษะ มักเป็นทรงผมของชนชั้นสูง เครื่องประดับของสตรีคล้ายกับของบุรุษ คือ ประดับตั้งแต่ศีรษะจนถึงเท้า ภาพประติมากรรมสตรีดูจะมีน้อยกว่าภาพของบุรุษ แต่ปรากฏหลักฐานคือ สตรีเช่นเดียวกับบุรุษไว้ผมยาวและเกล้าผม ไว้กลางกระหม่อม ประดับตกแต่งศีรษะสุดแต่คิดว่างาม ตามความนิยม และตามฐานะ จากประติมากรรมพบว่า สตรีส่วนใหญ่ไว้ผมยาว และมุ่นมวยผมไว้เหนือท้ายทอย  แต่ก็มีบางคนที่ไว้ผมสั้นแค่คอ และรวบผมเป็นจุกไว้ตรงกลาง ซึ่งผมที่รวบไว้ตรงกลาบางทีก็มี พวงดอกไม้หรือเกี้ยวประดับ หรือมีศิราภรณ์ทรงกรวยประดับลวดลายสวมรอบอีกทีหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น