วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ปก

 รายงาน

เรื่อง
อาณาจักรทาวราวดี

เสนอ
อาจารย์ ศุภสัณห์ แก้วสำราญ

จัดทำ
นางสาวพรรณิกา เวลเดส
เลขที่ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2


รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา  การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต รหัสวิชา ง30204

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556


โรงเรียนเมืองกระบี่

คำนำ

คำนำ

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของ รายวิชา การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต รหัสวิชา ง30204ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาความรู้ที่ได้จากเรื่อง เนื้อหาของรายงานสัมมนาฉบับนี้กล่าวถึง ประวัติความเป็นมาของอาณาจักรทาวราวดี แนวคิดทฤษฏีการเกิดเป็นอาณาจักรทาวราวดี เศรษฐกิจลักษณะทางสังคมความเป็นอยู่ของชาวทาวราวดี การปกครอง ศิลปะ สถาปัตยกรรม วัฒนธรรมที่ยังคงมีร่องรอยเหลืออยู่ในปัจจุบัน การแต่งกาย การเสื่อมสลายของอาณาจักร ในยุคสมัยนั้นว่าเป็นอย่างไรบ้างผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อนี้ในการทำรายงาน เนื่องมาจากเป็นเรื่องที่น่าสนใจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา เป็นความรู้แก่ผู้ที่สนใจทุกท่าน   รายงานฉบับนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไม่ได้รับการมอบหมายจากอาจารย์ศุภสัณห์ แก้วสำราญ ที่ได้ให้นักศึกษาชั้นปีที่6 มีการจัดทำรายงานขึ้นมาคนละหนึ่งเรื่อง โดยให้นักศึกษานั้นได้เลือกทำรายงานในเรื่องที่ตนเองมีความสนใจอยู่รวมถึงคำชี้แนะต่างๆทั้งในเรื่องเนื้อหาของรายงาน การสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลรวมถึงการจัดรูปแบบและรูปเล่มในการจัดทำรายงานเล่มนี้นี้
ทางผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านที่มีความสนใจและต้องการศึกษาค้นคว้า ตลอดจนเป็นการเพิ่มพูนความรู้ในเรื่องดังกล่าวได้ไม่มากก็น้อย





.. พรรณิกา  เวลเดส

ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมาของการเกิดอาณาจักรทวารวดี
อาณาจักรทวารวดี มีศูนย์กลางอยู่ที่ใดไม่ปรากฏชัด สันนิษฐานว่า อาจอยู่ที่นครปฐมราชบุรี หรือสุพรรณบุรี เพราะทั้ง 3 แห่งนี้มีร่องรอย เมืองโบราณ ศิลปวัตถุ และโบราณสถานแบบทวารวดีเหมือนๆ กัน ศิลปวัฒนธรรมของทวารวดีส่วนใหญ่เป็นไปในทางพระพุทธศาสนาซึ่งจดหมายเหตุจีนได้ระบุว่า อาณาจักรทวารวดีนี้มีวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างสูงมีความเจริญทางด้านการค้ามาก นอกจากนี้ ตำนานมูลศาสนา และตำนานจามเทวีวงศ์ซึ่งเป็นหลักฐานของไทยก็กล่าวถึงความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรทวารวดีไว้เช่นกัน

 


อาณาจักรทวารวดี เจริญรุ่งเรืองขึ้นในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 และได้แผ่อิทธิพลทางวัฒนธรรมที่รับมาจากอินเดียไปทั่วทุกภาคของประเทศโดยเฉพาะความเชื่อทางพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท คำว่า ทวารวดี ปรากฏในบันทึกการเดินทางของภิกษุจีนรูปหนึ่ง และได้เทียบคำว่า อาณาจักร โต-โล-โป-ตี้ หรือ ตว้อ-หลอ-ปอ-ตี้ ตามสำเนียงจีน ว่า ตรงกับคำว่า อาณาจักร ท-วา---ดี บันทึกการเดินทางของภิกษุจีน ซึ่งบันทึกไว้ราวพุทธศตวรรษที่ 13 หรือเมื่อประมาณ 1,300 ปีมาแล้ว กล่าวว่า เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ระหว่างอาณาจักรศรีเกษตร(ปัจจุบันอยู่ในประเทศพม่า)และอาณาจักรอิศานปุระ อยู่ในประเทศกัมพูชา ดังนั้นอาณาจักรทวารวดีจึงตั้งอยู่ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบันจากการศึกษาของนักประวัติศาสตร์เชื่อว่าประชาชนของทวารวดีเป็นชาวมอญ อพยพมาจากแถบตะวันตกของจีนลงมาทางใต้ตามลำน้ำโขงและแม่น้ำสาละวิน เข้าสู่พม่าตอนล่าง และดินแดนลุ่มน้ำเจ้าพระยา 

หลักฐานแสดงความเป็นมา

หลักฐานแสดงความเป็นมาของอาณาจักรทวารวดี


การศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการในสมัยต่อมาต่างก็ยอมรับว่า ในดินแดนประเทศไทยมีอาณาจักรทวารวดีเมื่อได้พบเหรียญเงิน 2 เหรียญที่โบราณสถานเนินหิน ใกล้วัดพระประโทนจังหวัดนครปฐมเมื่อ พ..2486เหรียญเงินทั้งสองนั้น ด้านหนึ่งมีข้อความจารึกเป็นภาษาสันสกฤตอ่านได้ว่าศรีทวารวดี ศวรปุณยะ ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า บุญของผู้เป็นเจ้าแห่งทวารวดี จึงเป็นสิ่งย้ำว่า อาณาจักรทวารวดีนั้นมีอยู่จริง หลังจากนั้นได้พบเหรียญที่มีจารึกแบบเดียวกันนี้อีก เหรียญที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีและที่เมืองโบราณบ้านคูเมือง อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี แห่งละเหรียญ 





อาณาเขตและที่ตั้งศูนย์กลาง

อาณาเขตและที่ตั้งศูนย์กลางอาณาจักรทวารวดี

สันนิษฐานว่า ศูนย์กลางของมอญคือเมืองสะเทิมหรือสุธรรมวดี ตำนานของเผ่าต้องซู่ ซึ่งเป็นกะเหรี่ยงพวกหนึ่งเขียนไว้ว่าสะเทิมเป็นเมืองโบราณของต้องซู่ คำว่า สะเทิม มาจากคำว่า สะทูในภาษาต้องซู่ แปลว่า ศิลาแลงเพราะมีศิลาชนิดนี้มากที่ภูเขาใกล้เมืองสะทู แต่ตำนานเขียนเพี้ยนเป็นสะเทิมอาณาจักรทวารวดีมีอาณาเขตและที่ตั้ง ตั้งแต่บริเวณเมืองสะเทิมในพม่า มาถึงประเทศไทยปัจจุบันคือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือที่ลำพูนในปัจจุบันศูนย์กลางของอาณาจักร ในระยะแรกสันนิษฐานว่าตั้งอยู่ที่เมืองอู่ทองจังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาอาจย้ายไปอยู่ที่เมืองนครปฐม หรือไม่ก็อยู่ที่เมืองคูบัว ในเขตจังหวัดราชบุรีในปัจจุบัน เนื่องจากบริเวณทั้ง 3 แห่ง ดังกล่าว มีร่องรอยเมืองโบราณ ศิลปวัตถุ และโบราณสถานแบบทวารวดีเป็นจำนวนมากเหมือนๆกัน แต่ก็ยังสรุปไม่ได้แน่นอนโดยพิจารณาดังนี้
1.เมืองนครปฐมโบราณ (เมืองพระประโทน หรือเมืองนครชัยศรี ได้รับการสันนิษฐานว่าน่าจะเคยเป็นราชธานีของอาณาจักรทวาราวดีเจริญรุ่งเรืองขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 12 โดยพิจารณาจากการค้นพบเหรียญเงินถึง 2 เหรียญ ที่มีจารึกว่า ศรีทวารวดีศวรปุณยะ ซึ่งแปลว่า บุญของผู้เป็นเจ้าแห่งทวารวดี เมืองนครปฐมโบราณจึงน่าจะมีความสำคัญมากกว่าเมืองอื่นๆ คำว่า ทวารวดี ที่ปรากฏสืบมา อยู่ในสร้อยนามของเมืองหลวงเก่าของไทยในสมัยหลัง เช่น กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา ผังเมืองนครปฐมโบราณที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย การพบจารึกภาษามอญที่เก่าที่สุดโบราณสถาน โบราณวัตถุที่พบอย่างมากมาย และโบราณสถานแต่ละแห่งล้วนมีขนาดใหญ่
2. เมืองอู่ทอง สันนิษฐานว่าเมืองอู่ทอง น่าจะเป็นเมืองหลวงหรือราชธานีอย่างน้อยช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยพิจารณาจากการพบเหรียญเงินที่มีจารึกว่า ศรีทวารวดี ศวรปุณยะ จำนวน 2เหรียญ ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นแห่งเดียวที่พบจารึกกล่าวถึงพระนามกษัตริย์ คือ พระเจ้าหรรษวรมัน จารึกอยู่บนแผ่นทองแดง กำหนดอายุจากตัวอักษรประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-14 เมืองอู่ทองจึงน่าจะเป็นเมืองหลวงของกษัตริย์พระองค์นี้โบราณสถานโบราณวัตถุภายในเมืองและบริเวณใกล้เคียงที่พบอย่างหนาแน่น โดยเฉพาะโบราณวัตถุสมัยแรกกับอิทธิพลอินเดีย เช่น ลูกปัดรูปแบบต่างๆ เหรียญโบราณ เป็นเมืองที่มีความเจริญมานานไม่ขาดสาย ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศึาสตร์ และเจริญสืบเนื่องต่อกันมาถึงสมัยฟูนัน พุทธศตวรรษที่ 6-9 อาจเป็นเมืองหลวงของฟูนันด้วยจนถึงสมัยทวาราวดี

3. เมืองลพบุรี โดยพิจารณาจากเหรียญเงินมีจารึกเป็นภาษาสันสกฤตว่า ลวปุระ (หรือละโว้ ชื่อเดิมของเมืองลพบุรี) ที่เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พบโบราณสถานโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก




แนวคิดและทฤษฎี

แนวคิดและทฤษฎีของการเกิดอาณาจักรทวารวดี

ทฤษฎีทวารวดีเป็นอาณาจักร และมีเมืองเป็นศูนย์กลางนักวิชาการที่เชื่อในทฤษฎีนี้เชื่อว่าทวารวดีมีรูปแบบการปกครองเป็นอาณาจักรและมีเมืองในภาคกลาง หรือบริเวณลุ่มแม่น้ำพระยาตอนล่าง เป็นศูนย์กลางอำนาจ อาจเป็นเมืองนครปฐมโบราณ หรือเมืองอู่ทอง ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี หรือเมืองลพบุรี ทฤษฎีทวารวดีเป็นกลุ่มเมืองหรือรัฐอิสระไม่ขึ้นต่อกันจากการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีในระยะหลัง นักโบราณคดีได้พบเมืองสมัยทวาราวดีมากขึ้น เรื่อยๆ และยังพบกระจายอยู่ตามภาคต่างๆ ของประเทศไทย ดังนั้นจึงเกิดคำถามต่อมาว่า แสนยานุภาพของอาณาจักรทวารวดีจะมีจริงหรือไม่ ที่จะควบคุมเมืองต่างๆ ทั่วประเทศได้
ปัจจุบันนักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าทวารวดียังไม่มีองค์ประกอบเพียงพอกับการเป็นอาณาจักรใหญ่เพราะว่า

- จากข้อมูลทางโบราณคดี ไม่เคยพบร่องรอยป้อมค่าย ประตูหอรบ หรืออาวุธในการสงครามอย่างที่อาณาจักรควรเป็น
- จากข้อมูลทางเอกสาร ก็ไม่มีการกล่าวถึงการแผ่อำนาจทางการเมืองจากเมืองศูนย์กลางไปครอบคลุมยังเมืองอื่นๆ โดยรอบ รวมทั้งระบบส่วยและบรรณาการ

เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจของอาณาจักรทวารวดี


                ทางการการส่งเสริมด้านสาธารณูปโภค ประชาชนประกอบอาชีพทางการเกษตรเลี้ยงสัตว์ การประมง อีกทั้งยังมีฝีมือด้านงานช่างด้านต่าง ๆ ทำการค้าขายกับต่างชาติ เนื่องจากเป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ ในบริเวณลุ่มแม่น้ำสำคัญเช่นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำกลอง ลุ่มแม่น้ำพรรณบุรี ลุ่มแม่น้ำสัก และการค้าขายกับเมืองใกล้เคียง โดยเฉพาะกับชาวต่างชาติโดยทางทะเล เช่น อินเดีย อาหรับ จีน และคาบสมุทรภาคใต้ ยังมีชาวต่างชาติ เช่น จีนและอินเดีย นำเรือเข้ามาค้าขายและตั้งถิ่นฐานชั่วคราว ผลิตผลที่สำคัญ คือ ข้าว ของป่า และแร่ธาตุ เมืองที่ตั้งอยู่ใกล้ทางน้ำออกทางทะเลได้สะดวกจะเป็นเมืองท่าศูนย์กลางทางการค้าขาย ส่วนเมืองที่อยู่ลึกเข้าไปจะเป็นแหล่งรวบรวมสินค้าเพื่อส่งมายังเมืองท่าอีกทีหนึ่ง 




ลักษณะสังคมและความเป็นอยู่

ลักษณะสังคมและความเป็นอยู่ของชาวทวาราวดี


จากโบราณสถานตามที่ต่างๆ ทำให้ทราบว่าเมืองสมัยทวารวดีมีกำแพงดินและคูเมืองล้อมรอบ ภายในเมืองมีสระน้ำ-2 แห่ง บางเมืองมีสระอยู่หน้าประตูเมือง ภายในเมืองมีระบบระบายน้ำรางดีแสดงถึงความเป็นรัฐชลประทานภายในแผ่นดิน โบราณสถานภายในตัวเมืองมีน้อยแต่มีมากอยู่รอบตัวเมือง จากเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องประดับพบว่า คนสมัยทวารวดีมีใบหน้ากลมและเหลี่ยมริมฝีปากหนา บางคนผมหยิก ทั้งชายหญิงมีทรงผมที่แปลก สวมตุ้มหูเป็นห่วงโตบางคนสวมสร้อยคอหรือห่วงเงิน บ้างใช้ลูกปัดสีต่างๆ มาประดับกายนุ่งผ้าโจงกระเบน มีสายคาดที่เอว สวมแหวนทำด้วยสำริด หัวแหวนมีทั้งธรรมดาและมีตรา พบว่าพาหนะเป็นปูนปั้นมีทั้งสำเภา ช้างม้า เรือสำเภาใช้ค้าขายกับต่างประเทศเพราะพบลูกปัดมีตรา เป็นของที่ทำมาจากเมืองจีนหรือประเทศแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน พบไหมีปากผายรอบปากไหมีแถบแดงและขาว เป็นไหคล้ายกับที่พบในแคว้นอีสานปุระ แสดงว่าสมัยเจนละตอนบนและทวารวดีตอนต้นได้มีการติดต่อกัน ในสารานุกรมจีนกล่าวว่า ทวารวดีได้ถวายบรรณาการแก่จีนในรัชกาลพระเจ้าถังไทจงฮ่องเต้ พ.. 1170-1192 และอาณาจักรนี้มีตลาด 6 แห่ง การค้าขายใช้เงินเหรียญทั้งสิ้น เงินตราสมัยทวาราวดีเป็นเหรียญดีบุก



การเมืองการปกครอง

การเมืองการปกครองของอาณาจักรทวารวดี

การปกรองแบ่งเป็นแคว้นๆ แต่ละกลุ่มจะมีเจ้านายหรือหัวหน้าปกครอง เป็นระบบเครือญาติที่เป็นพันธมิตร ตามลักษณะการปกครองแบบนครรัฐ กษัตริย์เมืองใดมีอาวุโสก็จะได้รับการยอมรับให้เป็นผู้นำ การจัดการการปกครองของอาณาจักรทวารวดี แต่ละเมืองจะมีหัวหน้าปกครองซึ่งอาจเป็นกษัตริย์หรือมีฐานะเทียบเท่า ในสังคมมีการแบ่งชนชั้น เช่น กษัตริย์และบรมวงศานุวงศ์ขุนนาง พ่อค้า ช่างฝีมือ และชาวนา มีเมืองต่างๆ ขึ้นอยู่กับอาณาจักรทวารวดีได้แก่ เมืองคูเมือง(สิงห์บุรี) เมืองจันทเสนและโคกไม้เดน (นครสวรรค์) เมืองหนองแซง (สระบุรี) ดงพระศรีมหาโพธิ์หรือเมืองศรีวัตสะปุระ (ปราจีนบุรี) เมืองศรีเทพและเขาถมอรัตน์ (เพชรบูรณ์) เมืองคูบัว (ราชบุรี)เมืองฟ้าแดดสูงยาง (กาฬสินธุ์) ศูนย์กลางการปกครองของแคว้นอยู่ที่ภาคกลางอาจเป็นเมืองนครปฐมหรือเมืองอู่ทอง เพราะเหรียญเงินและแผ่นทองแดงที่พบที่นครปฐมมีจารึกการอุทิศถวาย

พระราชกุศลแก่พระราชาแห่งทวารวดีแสดงถึงอาณาจักรทวารวดีมีกษัตริย์ปกครอง และมีโบราณสถานในจังหวัดนครปฐมหลายแห่ง เช่นที่วัดพระปฐมเจดีย์ วัดพระประโทณวัดพระเมรุ วัดธรรมศาลา วัดดอนยายหอม รวมทั้งโบราณวัตถุ พระพุทธรูปสมัยทวารวดีอีกมากมาย รวมทั้งเสมาธรรมจักรและกวางหมอบ ส่วนที่สันนิษฐานว่าเมืองอู่ทองอาจเป็นศูนย์กลางอาณาจักรทวารวดีอีกด้วย เพราะพบจารึกบนแผ่นทองแดงและเหรียญเงิน เช่นกัน ตลอดจนมีโบราณวัตถุทางการค้า เช่น ถ้วยชามเครื่องประดับทำจากเงิน ทอง สำริด เหรียญกษาปณ์เช่นกัน และยังพบซากตัวเมืองโบราณขนาดใหญ่มาก มีปราสาทราชวัง


ศิลปะ

ศิลปะของอาณาจักทวารวดี


ศิลปกรรมประติมากรรมระยะแรกเลียนแบบศิลปะอินเดีย ต่อมาจึงดัดแปลงเป็นฝีมือช่างพื้นเมือง ส่วนใหญ่เป็นศิลาจำหลักและลายปูนปั้น มีทั้งพระพุทธรูป เสมาธรรมจักร รอยพระพุทธบาท พระพิมพ์ และลายปูนปั้นแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ส่วนอาคารสร้างด้วยอิฐนาดใหญ่ และศิลาแลงประดับลายปูนปั้น ชาวทวารวดีเป็นพุทธมามกะที่เคร่งครัด มีการสร้างพระพุทธรูปเพื่อการเคารพบูชาเป็นจำนวนมาก ลักษณะพระพุทธรูปสมัยนี้ คือรูปร่างองค์พระสะโอดสะองพระอังสะใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก จีวรบางแนบติดองค์ พระพักตร์แบนบ่งความเป็นท้องถิ่น คือขมวดพระเกศาใหญ่ พระพักตร์กว้าง พระขนงโค้งติดกันเป็นรูปปีกกา พระเนตรโปน พระนาสิกค่อนข้างแบน พระโอษฐ์หนา พระพุทธรูปมักเป็นท่าประทับยืนตรง พระหัตถ์มักอยู่ในกิริยาแสดงธรรมทั้งสองพระหัตถ์ แบบประทับนั่งสมาธิและแบบนั่งห้อยพระบาททั้งสองข้างคล้ายนั่งเก้าอี้ ส่วนใหญ่มักสร้างด้วยศิลา มีชิน (หมายถึง โลหะเจือชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยตะกั่วและดีบุก นิยมใช้ทำพระเครื่อง) บ้างก็มีแต่องค์เล็ก นอกนั้นที่พบมักเป็นรูปธรรมจักรมีกวางหมอบอยู่ข้างล่างด้านหน้า พระพุทธรูป มีทั้งสลักจากหินทำด้วยดินเผา และหล่อด้วยสำริด สมัยแรกทำตามอย่างอินเดียอย่างมาก ต่อมาผสมผสานอิทธิพลพื้นเมืองจนเป็นแบบเฉพาะของทวารวดี ธรรมจักรและกวางหมอบ สลักจากหิน แสดงถึงปฐมเทศนาพระพิมพ์ พบมากเช่นกัน สร้างขึ้นเพื่อสืบอายุพระศาสนา พบคล้ายคลึงกันในเมืองโบราณทุกแห่ง ทุกภาคของประเทศ ประติมากรรมสมัยนี้ได้รับอิทธิพลอินเดียสมัยคุปตะ ซึ่งเจริญแพร่หลายทางภาคกลางและตะวันตกของอินเดียระหว่างพุทธศตวรรษที่ 10-11 จนถึงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-13 ซึ่งสมัยคุปตะเป็นสมัยที่เจริญสูงสุด เรียกว่า คลาสสิกของอินเดีย




สถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรมของอาณาจักรทวารวดี

ด้านสถาปัตยกรรมยังไม่รู้ลักษณะที่แน่นอน เนื่องจากหลักฐานที่เหลืออยู่น้อย คือ มักจะเหลือแต่บริเวณฐานหรือถู ซ่อมแซมมาหลายสมัย เช่น เจดีย์วัดจามเทวี(วัดกู่กุด) จังหวัดลำพูนที่อาจจะเป็นเจดีย์ปลายสมัยทวารวดีแต่มีหลักฐานเกี่ยวกับรูปแบบเจดีย์สมัยทวารวดีอยู่ในรูปเจดีย์จำลอง หรือสลักอยู่ในประติมากรรมนูนสูงสถูปเจดีย์ เหลือแต่ฐาน ส่วนบนพังทลายหมด แผนผังฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีบันไดยื่นเป็นทางขึ้นลงทั้งสี่ด้าน ที่ผนังฐานทั้งสี่จะใช้ปูนปั้นหรือดินเผาหุ้มประดับเป็นภาพเล่าเรื่องนิทานชาดกในพระพุทธศาสนา บางครั้งมีรูปเทวดาหรือคนแคระแบก จากองค์สถูปจำลองที่พบสันนิษฐานว่า โบราณสถานจริงนั้นเหนือฐานขึ้นไปคงก่ออิฐเป็นห้องสี่เหลี่ยมหรือมีองค์ระฆังทรงกลมอยู่ตอนบนเหนือขึ้นไปเป็นแผ่นวงกลมซ้อนขึ้นไปเป็นรูปเรียวสอบ สถูปเจดีย์สร้างด้วยอิฐแผ่นขนาดใหญ่ เนื้ออิฐมีแกลบปนอยู่มากเป็นเอกลักษณ์ การ

สร้างไม่ใช้ปูนเชื่อมอิฐแต่ละแผ่น แต่จะใช้ดินเนื้อละเอียดบาง ๆ ที่ผสมยางไม้เชื่อมแทนรูปแบบสถาปัตยกรรมและประติมากรรมอาณาจักรทวารวดีล่มสลายลงประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 16 เนื่องจากเขมรได้ขยายอำนาจการปกครองเข้ามายังบริเวณภาคกลางของประเทศไทย




ลักษณะสำคัญของวัฒนธรรม

ลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมที่อาณาจักรทวารวดีสร้างขึ้น

มรดกทางวัฒนธรรม ด้านวัฒนธรรมประเพณี และ ความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ได้แก่ การทำบุญในโอกาสต่างๆ การบวช คติความเชื่อเรื่องพระมหากษัตริย์เป็นพระโพธิสัตว์ การสร้างพระพิมพ์และพระพุทธรูป วัฒนธรรมสมัยทวารวดี ได้สร้างความเป็นปึกแผ่นและทำให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการหลอมรวมและผสมผสานความแตกต่างทางวัฒนธรรมของชนแต่ละกลุ่มให้มีแกนกลาง ในการหลอมรวมและผสมผสานความแตกต่างทางวัฒนธรรมของชนแต่ละกลุ่มให้มีวัฒนธรรมเดียวกันคือวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาเช่น ธรรมเนียมการบูชาพระบรมธาตุแพร่หลายมากในสมัยทวารวดี โดยมีหลักฐานจากการสร้างเสมา อันเป็นศิลปะสมัยทวารวดี แสดงการสลักภาพสถูป ซึ่งเป็นสัญลักษณ์การบูชาพระธาตุ การสร้างวัดเป็นศูนย์กลางชุมชน การสร้างเจดีย์โดยใช้อิฐดินเผาเป็นวัสดุก่อสร้างและฉาบด้วยปูนซีเมนต์ นอกจากนั้นศิลปะด้านประติมากรรมยังมีการสืบทอดการสร้างพระพุทธรูป และการทำลวดลายปูนปั้นเป็นรูปคน ยักษ์
และสัตว์ต่างๆ เพื่อประดับตกแต่ง ศาสนาสถานให้ดูสวยงาม วัฒนธรรมที่ยังคงมีร่องรอยเหลืออยู่จนปัจจุบัน
ศิลปะสมัยทวารวดีที่ยังคงเหลือให้เห็นหลายอย่างเช่นพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ในท่าประทับนั่งห้อยพระบาท ศิลาสลักรูปวงล้อมธรรมจักรกับกวางหมอบ ซึ่งหมายถึงพระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี พบที่เมืองนครชัยศรีจังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปปูนปั้นดินเผาและพระพิมพ์ พบที่เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ซากโบราณสถานหลายแห่งที่ เมืองคูบัวจังหวัดราชบุรี พบประติมากรรมดินเผา และปูนปั้นสตรีเล่นดนตรี และลูกปัดที่ทำด้วยแก้ว หิน และดินเผาที่เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีภาชนะดินเผา พบหม้อมีสัน หม้อก้นกลม ชาม ไห ถ้วย หม้อ น้ำพวย และหม้อน้ำขวดผิวเรียบ มีทั้งแบบมีจารึกและไม่มีจารึกบนเหรียญ แต่ทั้งสองแบบ มักมีภาพสัญลักษณ์อันเป็นมงคลต่างๆ เพื่อแสดงถึงอำนาจและความยิ่งใหญ่ของกษัตริย์ หรือเพื่อความอุดมสมบูรณ์แก่พืชพันธุ์ธัญญาหารตามคติอินเดีย เช่น ภาพรูปพระอาทิตย์ รูปบัลลังก์ แสดงถึงความยิ่งใหญ่ ภาพศรีวัตสะ หรือเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ ภาพโคและลูกโค ภาพกวาง ภาพหม้อน้ำแสดงการเพิ่มพูนทางการเกษตร เหรียญ มีจารึกคงผลิตขึ้นใช้เนื่องในโอกาสพิเศษ 


การแต่งกาย

การแต่งกายของชาวอาณาจักรทวารวดี

จากศึกษาประติมากรรมที่ขุดค้นได้จากแหล่งโบราณคดีทวาราวดีที่สำคัญ เช่น ประติมากรรมปูนปั้นรอบฐานเจดีย์จุลประโทน จังหวัดนครปฐม ประติมากรรมดินเผาที่ประดับรอบฐานโบราณสถานคูบัว จังหวัดราชบุรี และประติมากรรมจำหลักบนใบเสมาที่พบจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทราบว่าบุรุษไว้ผมยาวมุ่นเป็นมวย และมีเครื่องประดับศีรษะ นุ่งผ้ามี 2 แบบ คือ นุ่งผ้ายาวครึ่งน่อง และนุ่งโจงกระเบนแบบโธตี คาดเข็มขัดแบบต่างๆ มีผ้าคล้องไหล่ ลักษณะของผ้าที่ใช้ยังสามารถบอกถึงฐานะคนสมัยนั้นอีกด้วยเช่น พระเจ้าแผ่นดินทรงนุ่งผ้ายกดอก ขุนนางผู้ใหญ่และเจ้านายผ้า ยกดอกห่าง ๆ ถ้าขุนนาง ธรรมดาใช้ผ้ายกดอกสองชาย ส่วนราษฎรสามัญจะใช้ผ้ายกได้เฉพาะผู้หญิงเท่านั้น ส่วนผู้ชายคงใช้ผ้าฝ้ายกับผ้าทอจากปอกระเจา และประดับตกแต่งร่างกายด้วย เครื่องประดับต่างๆ ซึ่งสามารถจำแนกเครื่องประดับของบุรุษแต่ละประเภทดังนี้

บุรุษนิยมไว้ผมยาว แล้วเกล้ามวยไว้ตรงด้านหลังศีรษะบนศีรษะมีการประดับผมทั้งเพื่อความสวยงาม และเพื่อแสดงฐานันดรศักดิ์ แต่มีบางกลุ่มที่ไว้ ผมสั้นแค่คอ และหวีผมแสกกลาง ลักษณะของศิราภรณ์บุรุษ มีตั้งแต่แบบเรียบง่ายไปจนถึงประดิษฐ์เป็นมงกุฎประดับเพชรพลอยด้วยฝีมือช่างชั้น สูงผมทรงสั้นแค่คอ หวีแสกกลาง จับเป็นลอนตลอด น่าจะเป็นทรงผมของพวกนักรบ ดังดูได้จากภาพชาดกที่ประดิษฐานเจดีย์จุลประโทน ผมไว้ยาว มุ่นเป็นมวยไว้ด้านหลังท้ายทอย มักเป็นทรงผมของพราหมณ์ ผมไว้ยาว มุ่นเป็นมวยไว้บนกระหม่อมกลางศีรษะ มักเป็นทรงผมของชนชั้นสูง เครื่องประดับของสตรีคล้ายกับของบุรุษ คือ ประดับตั้งแต่ศีรษะจนถึงเท้า ภาพประติมากรรมสตรีดูจะมีน้อยกว่าภาพของบุรุษ แต่ปรากฏหลักฐานคือ สตรีเช่นเดียวกับบุรุษไว้ผมยาวและเกล้าผม ไว้กลางกระหม่อม ประดับตกแต่งศีรษะสุดแต่คิดว่างาม ตามความนิยม และตามฐานะ จากประติมากรรมพบว่า สตรีส่วนใหญ่ไว้ผมยาว และมุ่นมวยผมไว้เหนือท้ายทอย  แต่ก็มีบางคนที่ไว้ผมสั้นแค่คอ และรวบผมเป็นจุกไว้ตรงกลาง ซึ่งผมที่รวบไว้ตรงกลาบางทีก็มี พวงดอกไม้หรือเกี้ยวประดับ หรือมีศิราภรณ์ทรงกรวยประดับลวดลายสวมรอบอีกทีหนึ่ง

การเสื่อมสลาย

การเสื่อมสลายของอาณาจักรทวารวดี

ตอนปลายสมัยทวารวดี เมืองต่างๆ ของอาณาจักรทวาราวดีส่วนใหญ่ถูกทิ้งร้างสาเหตุเกิดจากแม่น้ำสำคัญเคยไหลหล่อเลี้ยงเมืองตื้นเขิน หรือเปลี่ยนเส้นทางเดิน ทำให้ขาดแคลนน้ำ เมืองบางเมืองต้องย้ายที่ตั้งไปอยู่ที่ใหม่ใกล้ทางน้ำ แต่ก็มีบางเมืองมีการอยู่อาศัยติดต่อมาอย่างไม่ขาดช่วงจนถึงสมัยอยุธยา ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 16 อิทธิพลทางวัฒนธรรมและการเมืองจากเขมรจากด้านตะวันออกได้แผ่เข้ามายังภาคกลางของประเทศไทยวัฒนธรรมทวาราวดีที่เคยรุ่งเรืองได้ถูกวัฒนธรรมเขมรเข้าครอบงำจนล่มสลายลงการสิ้นสุดของอาณาจักรทวารวดีอาจเป็นเพราะสาเหตุ 2 ประการ คือ ประการแรก ความแปรเปลี่ยนของสภาพภูมิศาสตร์แม่น้ำเปลี่ยนทางเดินเช่นในเมืองอู่ทองหรือทะเลตื้นเขินกลายเป็นแผ่นดินงอกลึกออกไปในทะเล ทำให้ตัวเมืองที่เคย ตั้งอยู่ริมทะเลเช่นเมืองนครปฐมเดิมต้องร่นเข้าไปอยู่ในแผ่นดิน เพราะมีหลักฐานว่า ได้พบซากสมอเรือและเปลือกหอยทะเลมากมายที่บริเวณเมืองนครปฐมเก่า ทำให้การคมนาคมติดต่อยากลำบากประการที่สอง อาจเป็นเพราะอิทธิพลของขอมที่แผ่ขยายเข้ามาในพุทธศตวรรษที่ 16 ทั้งทางด้านการปกครองและวัฒนธรรมจนยากที่จะป้องกันได้



สรุป

สรุป


อาณาจักรทวารวดีตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 ศูนย์กลางอาณาจักรทวารวดียังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน แต่สันนิษฐานว่าอาจอยู่ที่นครปฐม ราชบุรี หรือสุพรรณบุรี เนื่องจากทั้ง 3 แห่งนี้มีซากเมืองโบราณ โบราณสถาน โบราณวัตถุแบบทวารวดีเหมือนๆ กัน อาณาจักรทวารวดีเริ่มเสื่อมอำนาจลงตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16 เมื่ออาณาจักรขอมเริ่มขยายอำนาจเข้ามาศิลปกรรมที่จัดเป็นศิลปะสมัยทวารวดีส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เช่น รูปวงล้อพระธรรมจักรกับกวางหมอบที่พบที่นครชัยศรี จังหวัดนครปฐม และพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาทปางแสดงธรรมจังหวัดราชบุรี

บรรณานุกรม

บรรณานุกรม

พลับพลึง คงชนะ . (2543). ประวัติศึาสตร์การตั้งถิ่นฐานในดินแดนประเทศึไทย. กรุงเทพฯ :
เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.

พลับพลึง คงชนะ . (2550). ประวัติศึาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : พัฒนาคุณภาพวิชาการ.
ไพฑูรย์ พงศึะบุตร และวิลาสวงศึ์ พงศึะบุตร. (2540). ประเทศึของเรา 2. กรุงเทพฯ :ไทยวัฒนาพานิช.
ระพัฒน์ทอง นักโบราณคดี. กรุงเทพฯ : กรมศึิลปากร.กรมศึิลปากร. (2550). อุทยานประวัติศึาสตร์
ศึรีเทพ. กรุงเทพฯ : รุ่งศึิลป์การพิมพ์.

ข้อมูลออนไลน์

ทฤษฎีการวางผังเมืองและผังภาค. (2549). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://coursewares.mju.ac.th/2006/la471/course_chapt_03-3.html/. (วันที่ค้นข้อมูล :
18 มิถุนายน 2556)

ไทยทัวร์ (2549). เรียนรู้คุณค่า ศึิลปะ วัฒนธรรม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.thai-tour.com/wb/view_topic.php?id_topic=531/. (วันที่ค้นข้อมูล :

18 มิถุนายน 2556) 

ภาคผนวก

แผนที่บอกอาณาเขตของอาณาจักรทาวราวดี


การแต่งกายของชาวทาวราวดี