วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรมของอาณาจักรทวารวดี

ด้านสถาปัตยกรรมยังไม่รู้ลักษณะที่แน่นอน เนื่องจากหลักฐานที่เหลืออยู่น้อย คือ มักจะเหลือแต่บริเวณฐานหรือถู ซ่อมแซมมาหลายสมัย เช่น เจดีย์วัดจามเทวี(วัดกู่กุด) จังหวัดลำพูนที่อาจจะเป็นเจดีย์ปลายสมัยทวารวดีแต่มีหลักฐานเกี่ยวกับรูปแบบเจดีย์สมัยทวารวดีอยู่ในรูปเจดีย์จำลอง หรือสลักอยู่ในประติมากรรมนูนสูงสถูปเจดีย์ เหลือแต่ฐาน ส่วนบนพังทลายหมด แผนผังฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีบันไดยื่นเป็นทางขึ้นลงทั้งสี่ด้าน ที่ผนังฐานทั้งสี่จะใช้ปูนปั้นหรือดินเผาหุ้มประดับเป็นภาพเล่าเรื่องนิทานชาดกในพระพุทธศาสนา บางครั้งมีรูปเทวดาหรือคนแคระแบก จากองค์สถูปจำลองที่พบสันนิษฐานว่า โบราณสถานจริงนั้นเหนือฐานขึ้นไปคงก่ออิฐเป็นห้องสี่เหลี่ยมหรือมีองค์ระฆังทรงกลมอยู่ตอนบนเหนือขึ้นไปเป็นแผ่นวงกลมซ้อนขึ้นไปเป็นรูปเรียวสอบ สถูปเจดีย์สร้างด้วยอิฐแผ่นขนาดใหญ่ เนื้ออิฐมีแกลบปนอยู่มากเป็นเอกลักษณ์ การ

สร้างไม่ใช้ปูนเชื่อมอิฐแต่ละแผ่น แต่จะใช้ดินเนื้อละเอียดบาง ๆ ที่ผสมยางไม้เชื่อมแทนรูปแบบสถาปัตยกรรมและประติมากรรมอาณาจักรทวารวดีล่มสลายลงประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 16 เนื่องจากเขมรได้ขยายอำนาจการปกครองเข้ามายังบริเวณภาคกลางของประเทศไทย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น