อาณาเขตและที่ตั้งศูนย์กลางอาณาจักรทวารวดี
สันนิษฐานว่า
ศูนย์กลางของมอญคือเมืองสะเทิมหรือสุธรรมวดี ตำนานของเผ่าต้องซู่ ซึ่งเป็นกะเหรี่ยงพวกหนึ่งเขียนไว้ว่า “สะเทิมเป็นเมืองโบราณของต้องซู่
คำว่า สะเทิม มาจากคำว่า สะทูในภาษาต้องซู่ แปลว่า ศิลาแลงเพราะมีศิลาชนิดนี้มากที่ภูเขาใกล้เมืองสะทู
แต่ตำนานเขียนเพี้ยนเป็นสะเทิมอาณาจักรทวารวดีมีอาณาเขตและที่ตั้ง ตั้งแต่บริเวณเมืองสะเทิมในพม่า
มาถึงประเทศไทยปัจจุบันคือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือที่ลำพูนในปัจจุบันศูนย์กลางของอาณาจักร
ในระยะแรกสันนิษฐานว่าตั้งอยู่ที่เมืองอู่ทองจังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาอาจย้ายไปอยู่ที่เมืองนครปฐม
หรือไม่ก็อยู่ที่เมืองคูบัว ในเขตจังหวัดราชบุรีในปัจจุบัน เนื่องจากบริเวณทั้ง
3 แห่ง ดังกล่าว มีร่องรอยเมืองโบราณ ศิลปวัตถุ และโบราณสถานแบบทวารวดีเป็นจำนวนมากเหมือนๆกัน
แต่ก็ยังสรุปไม่ได้แน่นอนโดยพิจารณาดังนี้
1.เมืองนครปฐมโบราณ
(เมืองพระประโทน หรือเมืองนครชัยศรี ได้รับการสันนิษฐานว่าน่าจะเคยเป็นราชธานีของอาณาจักรทวาราวดีเจริญรุ่งเรืองขึ้นราวพุทธศตวรรษที่
12 โดยพิจารณาจากการค้นพบเหรียญเงินถึง 2 เหรียญ
ที่มีจารึกว่า ศรีทวารวดีศวรปุณยะ ซึ่งแปลว่า บุญของผู้เป็นเจ้าแห่งทวารวดี เมืองนครปฐมโบราณจึงน่าจะมีความสำคัญมากกว่าเมืองอื่นๆ
คำว่า ทวารวดี ที่ปรากฏสืบมา อยู่ในสร้อยนามของเมืองหลวงเก่าของไทยในสมัยหลัง เช่น
กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา ผังเมืองนครปฐมโบราณที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย การพบจารึกภาษามอญที่เก่าที่สุดโบราณสถาน
โบราณวัตถุที่พบอย่างมากมาย และโบราณสถานแต่ละแห่งล้วนมีขนาดใหญ่
2. เมืองอู่ทอง
สันนิษฐานว่าเมืองอู่ทอง น่าจะเป็นเมืองหลวงหรือราชธานีอย่างน้อยช่วงระยะเวลาหนึ่ง
โดยพิจารณาจากการพบเหรียญเงินที่มีจารึกว่า ศรีทวารวดี ศวรปุณยะ จำนวน 2เหรียญ ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นแห่งเดียวที่พบจารึกกล่าวถึงพระนามกษัตริย์
คือ พระเจ้าหรรษวรมัน จารึกอยู่บนแผ่นทองแดง กำหนดอายุจากตัวอักษรประมาณพุทธศตวรรษที่
13-14 เมืองอู่ทองจึงน่าจะเป็นเมืองหลวงของกษัตริย์พระองค์นี้โบราณสถานโบราณวัตถุภายในเมืองและบริเวณใกล้เคียงที่พบอย่างหนาแน่น
โดยเฉพาะโบราณวัตถุสมัยแรกกับอิทธิพลอินเดีย เช่น ลูกปัดรูปแบบต่างๆ เหรียญโบราณ เป็นเมืองที่มีความเจริญมานานไม่ขาดสาย
ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศึาสตร์ และเจริญสืบเนื่องต่อกันมาถึงสมัยฟูนัน พุทธศตวรรษที่
6-9 อาจเป็นเมืองหลวงของฟูนันด้วยจนถึงสมัยทวาราวดี
3.
เมืองลพบุรี โดยพิจารณาจากเหรียญเงินมีจารึกเป็นภาษาสันสกฤตว่า ลวปุระ
(หรือละโว้ ชื่อเดิมของเมืองลพบุรี) ที่เมืองอู่ทอง
จังหวัดสุพรรณบุรี พบโบราณสถานโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก